วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557


วันพ่อแห่งชาติ



   ประวัติวันพ่อแห่งชาติ


วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” วันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งความเป็นมาของวันสำคัญนี้ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาว ไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน
ทางราชการจึงได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ นี้



    

กลอนวันพ่อ

  คำว่าพ่อนั้นยิ่งใหญ่หาใดเปรียบ    สุดจะเทียบเทียมได้ในโลกหล้า 
เพราะพ่อนั้นท่านประเสริฐก่อเกิดมา     เห็นคุณค่ายิ่งใหญ่หาใดปาน 
พ่อมีแต่คำว่าให้ไม่คิดรับ    พ่อให้ทรัพย์ให้วิชาให้อาหาร 
ให้ชีวิตให้ความคิดให้วิญญาณ     สุดประมาณจะนับได้ยิ่งใหญ่จริง 
 

อุ่นไอในรักพ่อ....ผู้ร่วมก่อทอความฝัน
ถักรักจักยืนยัน.....ร่วมแบ่งปันสรรใจกาย
รักผ่านซ่านดวงจิต....แม่ร่วมคิดประดิษฐ์หมาย
กำเนิดก่อเกิดกาย...ลูกหญิงชายได้สิ่งดี
 

รัฐธรรมนูญไทย ๑๘ ฉบับ


ฉบับที่ 1 พ.ศ.2475

     เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น คณะราษฎร์ ซึ่ง มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ มีโดยที่คณะราษฎร์ได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน สยามชั่วคราวซึ่งได้ร่างเตรียมไว้แล้ว ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ และพระองค์จึงได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วพระราชทานแก่คณะราษฎร ซึ่งถือว่าประเทศไทยได้เริ่มมีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา
กฎหมายดังกล่าว ถือเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราวและเป็นฉบับที่มีอายุการใช้งานเร็วที่สุด เดือน 13 วัน นับจากการประกาศและบังคับใช้ จำนวน 39 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เนื่องจากการประกาศ และบังคับใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับถาวร

ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2475

     สภาผู้แทนราษฎรก็ได้แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างถาวร รัฐธรรมนูญฉบับที่ นี้ มีหลักการและแนวทางในการปกครองประเทศคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ มาก รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญไทยที่ใช้บังคับได้นานที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีรัฐธรรมนูญ มา โดยได้ประกาศ เมื่อวันที่ 10ธันวาคม 2475 จำนวน 68 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ พฤษภาคม2489รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ทั้งหมดนั้น เป็นระยะเวลายาวนานถึง 13 ปี เดือน โดยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้ง คือ ครั้งที่ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2482 แก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยนามประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ยังผลให้ชื่อของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็น "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2483 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล   ครั้งที่เมื่อวันที่ ธันวาคม 2485 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2489

     เนื่องจากได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ มาเป็นเวลานานถึง 15 ปีแล้ว เหตุการณ์บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก สมควรที่จะเลิกบทเฉพาะกาล และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2475 และที่สำคัญ ประเทศไทยต้องการจะสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติจึงต้องแสดงให้ชาวโลก ได้เห็นว่าประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงทำให้ต้องปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียใหม่ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2489 จำนวน 96มาตรา โดยนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และถูก "ฉีกทิ้ง" เมื่อวันที่ พฤศจิกายน 2490 โดยการรัฐประหารของคณะรัฐประหาร อันมีพลโท ผิน ชุณหะวัน นายทหารกองหนุน เป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ปี เดือน 28 วัน

ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2490

     คณะรัฐประหาร อ้างว่า ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤติการณ์รัฐบาลและรัฐสภาไม่สามารถแก้ไขให้กลับสู่ภาวะปกติได้จึงจำต้องให้เลิกใช้รัฐ ธรรมนูญ พ.ศ. 2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ขึ้นแทน เมื่อวันที่ พฤศจิกายน 2490 รวมจำนวน 98 มาตราต่อมา รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ถูกยกเลิกอย่าง"สันติ" เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 โดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ปี เดือน 14 วัน ระหว่าง ปี เดือน14 วันรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารฉบับนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับ "ใต้ตุ่ม" หรือ "ตุ่มแดง" เนื่องจากก่อนหน้านั้น พลโท หลวงกาจสงคราม (กาจ เก่งระดมยิง) รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วนำไปเก็บซ่อนไว้ใต้ ตุ่มน้ำเพราะเกรงว่าความจะแตกถ้าหากมีใครมาพบเข้า

ฉบับที่  5 พ.ศ. 2492

     รัฐธรรมนูญฉบับบนี้เกิดขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พุทธศักราช 2491 โดยที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน แล้วจึงนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสนอต่อรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไปได้ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 จำนวน 188มาตราแต่ในที่สุด ก็ถูก "ฉีกทิ้ง" เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 โดยการทำรัฐประหารภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ปี เดือน วัน

ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2495

     ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์จึงได้เกิดการรัฐประหารนำรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ พ.ศ. 2475ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2482 กับ พ.ศ. 2483) มาใช้แทนเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน  เมื่อได้ดำเนินการเสร็จแล้ว จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และสภามีมติเห็นชอบ จึงได้ประกาศมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ มีนาคม 2495 ประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งหมด 123 มาตรา โดยมีบทบัญญัติเดิมของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 อยู่เพียง 41 มาตราเท่านั้น นอกนั้นอีก 82 มาตรา เป็นบทบัญญัติที่เขียนเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ซึ่งบทบัญญัติใหม่ดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่ก็นำมาจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2492  รัฐธรรมนูญฉบับที่ นี้ จึงมีลักษณะผสมผสานกันระหว่างรัฐธรรมนูญทั้ง ฉบับข้างต้น ใน ระหว่างที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปได้ประมาณ ปี ก็ได้เกิด การเลือกตั้งสกปรกทำให้คณะรัฐประหารภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 16 กันยายน2500 และประกาศยุบเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ประเภท แต่ก็มิได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ที่สุด รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็จึงได้ถูก "ฉีกทิ้ง" เสีย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ทั้งสิ้น ปี เดือน 12 วัน

ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2502

     หลังการปฏิวัติ จอมพลสฤษดิ์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495  โดยคณะปฏิวัติทำหน้าที่บริหารประเทศออกกฎหมายโดยการออกประกาศของคณะปฏิวัติ และบริหารราชการแผ่นดินโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้สั่งการ เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการอย่างไม่มีขอบเขต จนถึงวันที่ 28 มกราคม2502 จึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญไทยที่สั้นที่สุด คือ มีเพียง 20 มาตราเพื่อรอการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่ก็ถูกใช้เป็นเวลายาวนานรวมถึง 9ปี 4เดือน 20 วัน จนกระทั่งถูกยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้วเสร็จและประกาศบังคับ ใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511

ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2511

     รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีจำนวน 183 มาตรา ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ ของไทย สภาร่างรัฐธรรมนูญ ทว่าเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติด้วย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการยกร่างจัดทำยาวนานที่สุดถึง ปีเศษ โดยละเอียดถี่ถ้วน จนในที่สุด ก็ได้ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 แต่ทว่าก็กลับมีอายุในการใช้งานเพียง ปี เดือน 27วัน กล่าวคือ หลังจากใช้บังคับได้ไม่นานนัก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 รัฐธรรมนูญก็ถูก "ฉีกทิ้ง" อีกครั้งหนึ่ง โดยการทำรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น และก็ได้นำเอารัฐธรรมนูญฉบับที่ มาแก้ไขปรับปรุงรายละเอียดใหม่เล็กน้อยก่อนประกาศใช้บังคับ

ฉบับที่ 9 พ.ศ.2515

     รัฐธรรมนูญฉบับที่ ยังห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรัฐมนตรีในขณะเดียวกันด้วย จึงเท่ากับเป็นการกีดกันมิให้ผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้ง เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจบริหารจึงสร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้แทนราษฎรเป็นอย่างมาก รัฐบาลไม่สนับสนุนจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้แก่ผู้แทนราษฎรในรูปของงบพัฒนา ซึ่งไม่ชอบต่อการบริหารงานแบบประชาธิปไตย จึงทำรัฐประหาร พร้อมยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ไปในทึ่สุด และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ แทนรัฐ ธรรมนูญฉบับที่ 9 ซึ่งประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 นั้น มีบทบัญญัติรวมทั้งสิ้นเพียง 23 มาตรา ทว่าที่สำคัญ ก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้นำเอาอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 17 มาบัญญัติไว้อีกด้วย ขณะที่มีเวลาใช้บังคับอยู่เพียง ปี เดือน 22 วัน ก็ต้องถูกยกเลิกไป อย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ ตุลาคม 2517 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2517

     เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด มีบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงไปในทางก้าวหน้าและเป็นแบบเสรีนิยมมาเริ่มต้น ในหมวด บททั่วไป ได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการล้มล้างสถาบันพระมหา กษัตริย์ หรือ รัฐธรรมนูญกและหมวดพระมหากษัตริย์ ได้บัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกว่า ในการสืบราชสันตติวงศ์นั้น ในกรณีที่ไม่มีพระราชโอรส รัฐสภาอาจให้ความเห็นชอบในการให้พระราชธิดาสืบราชสันตติวงศ์ได้ตลอดจนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ถูกร่างขึ้นภายหลังเกิดเหตุการณ์ วันมหาวิปโยคง นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน จึงได้เดินทางมาชุมชนกัน ในที่สุด จอมพลถนอม ก็ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทางออกนอกประเทศพร้อมกับคณะทรราชย์  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นาย สัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยพระองค์เอง เพื่อบริหารประเทศชาติในยามคับขัน หลังจากนั้น นายสัญญา จึงได้ประกาศให้สัญญากับประชาชนว่า จะเร่งร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน เดือน และจะจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในประเทศโดยเร็วรัฐมนตรีให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เมื่อวันที่ ตุลาคม 2517จำนวน 238 มาตรา  มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงครั้งเดียว และมีระยะเวลาการใช้เพียง ปี ก็ถูก "ฉีกทิ้ง" โดยประกาศของ "คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" ซึ่งมี พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นหัวหน้าคณะฯ เมื่อวันที่ ตุลาคม 2519

ฉบับที่ 11 พ.ศ.2519

     รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 นั้น เกิดจากการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ภายใต้การนำของ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ได้ เข้ายึดอำนาจหลังจากเกิดเหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษากับประชาชน ซึ่งชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับสู่ประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความทารุณโหดร้ายอย่างถึงที่สุด คนไทยต้องฆ่ากันเอง คณะปฏิรูปฯ จึงได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 แล้วได้ทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น และประกาศใช้บังคับในเวลาต่อมา เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เราสิ้นสุดยุคประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยการต่อสู้ของ ประชาชนในระยะเวลาอันสั้นหลังการปฏิวัติล้มรัฐบาล อันเนื่องมาจากเหตุการณ์นองเลือด เมื่อวันที่ ตุลาคม 2519 แล้ว คณะปฏิวัติ ก็ได้แต่งตั้ง นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมๆ กันกับที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม2519 โดยมีบทบัญญัติเพียง 29 มาตราเท่านั้น ซึ่งในที่สุด ก็ถูก "ฉีกทิ้ง" โดยการทำรัฐประหารของคณะปฏิรูปฯ เดิม ในนามใหม่ว่า "คณะปฏิวัติ" ในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ซึ่งมีหัวหน้าคนเดิม คือ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ รวมอายุการบังคับใช้แค่ ปีเท่านั้น

ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2520

     รัฐธรรมนูญฉบับ นี้ เกิดจากการทำรัฐประหารของคณะปฏิวัติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยให้เหตุผลว่าเพราะภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ หลังจากประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 11 แล้ว คณะปฏิวัติได้จัดตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้น ตามหลักการที่คณะปฏิวัติกำหนดไว้ จากนั้น คณะปฏิวัติจึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 ในวันที่ พฤศจิกายน 2520
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีบทบัญญัติ 32 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 22ธันวาคม 2521 เนื่องจากการประกาศใช้ธรรมนูญฉบับใหม่ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 ของประเทศไทย
ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2521
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบทบัญญัติทั้งหมดรวมบทเฉพาะกาล 206 มาตรา โดยสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับว่าเป็นประชาธิปไตยพอสมควรได้มีความพยายามที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่หลายครั้ง ซึ่งสุดท้ายก็ประสบความสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2528 ว่าด้วยเรื่อง ระบบการเลือกตั้ง โดยแก้ไขจากแบบรวมเขตรวมเบอร์ หรือ คณะเบอร์เดียว มาเป็นการเลือกตั้งแบบผสม เขตละไม่เกิน คน การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้ ถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ขณะที่การแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้ง คือ ครั้งที่ นั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2532 เกี่ยวกับเรื่องประธานรัฐสภา โดยแก้ไขให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภารัฐ ธรรมนูญฉบับนี้ ได้ใช้บังคับเป็นเวลาค่อนข้างยาวนานถึง 12 ปีเศษ แต่ก็ถูก "ยกเลิก" โดยการรัฐประหารอีกจนได้ เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ร.ส.ช.) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ได้เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534

ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2534

     ภายหลังจากที่ ร.ส.ช. ได้ทำการยึดอำนาจแล้ว ก็กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521และวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง โดยชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นของการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครอง ประเทศจากนั้น ร.ส.ช. จึงได้นำร่างธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ เมื่อวันที่ มีนาคม 2534 โดยมีบทบัญญัติอยู่เพียง 33 มาตรา
รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ มีระยะเวลาการใช้บังคับสั้นมาก คือ เพียง เดือน กับอีก วัน เท่านั้น ก็จึงถูกยกเลิกไป จากผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 เมื่อวันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2534

ฉบับที่ 15 พ.ศ.2534

     รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทั้งสิ้นจำนวน 233 มาตรา และได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ ธันวาคม 2534นั้นในที่สุด เมื่อรัฐธรรมนูญนี้ มีผลบังคับใช้ บทบัญญัติมาตรา 159 ก็ได้เปิดโอกาสให้เชิญบุคคลภายนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ และหลังจากที่มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญนี้ เนื่องด้วยปัญหาบางประการ ทำให้พรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในฐานะพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ได้เชิญนายทหารในคณะ ร.ส.ช. คือ พลเอก สุจินดา คราประยูร ให้มาเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเหตุผลที่ว่า เสียสัตย์เพื่อชาติ   ซึ่งนับว่าเป็นการทวนกระแสกับความรู้สึกของประชาชนไม่น้อยประชาชนซึ่ง รวมตัวกันประท้วง  ในช่วงระหว่าง วันที่ 17 ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แต่ทว่ากลับเป็นการนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่เรียกกันว่า เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในที่สุด ซึ่งต่อมา สถานการณ์ต่างๆ ก็บีบรัดจนทำให้พลเอกสุจินดาต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปอย่างใจจำยอมรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์นี้ มีระยะเวลาใช้บังคับรวมทั้งสิ้นปี 10 เดือน วัน ซึ่งได้ถูก "ยกเลิก" เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 โดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540

     เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์ อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 11ตุลาคม พ.ศ. 2540 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19กันยายน พ.ศ. 2549รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายก  รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่าง

ฉบับที่ 17 พ.ศ.2549

     ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก ณ วันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2549 มี 39 มาตราเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หลังจากที่ได้กระทำการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549คณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้แต่งตั้งทีมงานนักกฎหมายเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ ซึ่งเริ่มต้นประกอบด้วยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และวิษณุ เครืองาม แต่หลังการประกาศชื่อ สองคนนี้ได้ลาออกเนื่องจากได้รับเสียงวิจารณ์ว่าเคยร่วมงานกับขั้วอำนาจเก่า ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรภายหลังนายมีชัยได้ลาออกจากการเป็นหัว หน้าทีมร่างรัฐธรรมนูญ โดย คปค. ได้แต่งตั้งนายจรัญ ภักดีธนากุล ซึ่งในช่วงนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา ทำหน้าที่แทน

ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2550


     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2550และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

                           รัฐประหาร 22 พ.ค. 57


ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้อำนวยการ กอ.รส.ได้เรียกหัวหน้าหน่วยราชการและองค์กรต่างๆ เดินทางมารับทราบเหตุผลในการประกาศกฎอัยการศึก พล.อ.ประยุทธ์ได้เปิดให้มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557
       
       ถ้อยคำและบทสนทนาอันเป็นคำถาม คำตอบระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ถือเป็นบทสนทนาที่ต้องบอกว่าไม่ธรรมดา และสะท้อนความในใจ ตลอดรวมถึงเป้าหมายในการประกาศกฎอัยการศึก และต่อมาได้กลายเป็นถ้อยแถลงแห่งประวัติศาสตร์ เพราะสุดท้ายแล้วถ้อยแถลงบทนี้ได้นำไปสู่การตัดสินใจทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
       
       ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ได้เริ่มต้นแถลงว่า “อยากเรียนให้ทุกคนทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นการประกาศใช้กฎอัยการศึกในทุกพื้นที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างไร อยากเรียนว่าสังคมอย่าตื่นตระหนักเป็นเพียงการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดขึ้น
       
       อยากให้แสวงหาทางออกอย่างสันติวิธีให้ได้ ลดความขัดแย้งของประชาชนทุกพวกทุกฝ่าย วันนี้อาจจะมีคนที่เดือดร้อนอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน ผมอยากขอเวลาสักระยะหนึ่งให้สถานการณ์สงบเรียบร้อย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งอีกต่อไป การประกาศใช้กฎอัยการศึกในครั้งนี้นั้นเป็นการประกาศเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพื่อให้มีการแสวงหาทางออก โดยที่ไม่มีการกดดันจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทั้งสิ้น
       
       วันนี้ได้เชิญปลัดกระทรวง อธิบดี รวมถึงภาคส่วนเศรษฐกิจ และภาคส่วนสังคม และเอกชน และสหภาพต่างๆ ซึ่งทุกคนมีข้อสรุปว่าบ้านเมืองต้องเดินหน้าไปให้ได้โดยสันติวิธี โดยข้าราชการทุกกระทรวงทบวงกรม เห็นชอบร่วมกันและเข้าใจถึงความจำเป็นของทหารในการปฏิบัติหน้าที่ในช่วงนี้ วันนี้ 3 เหล่าทัพ กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหนึ่งเดียวในการรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อให้บ้านเมืองเดินต่อไปข้างหน้าได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประเทศ และมิตรประเทศในเรื่องการลงทุน การท่องเที่ยว ว่าพวกเราจะไม่ส่งผลกระทบกับกิจการใดๆทั้งสิ้น
       
       สิ่งที่เราจะดำเนินการเร่งด่วนคือ การบังคับใช้กฎหมายสำหรับผู้ที่ใช้อาวุธสงคราม หรือผู้ที่ตั้งกองกำลังในการทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและสูญเสีย ซึ่งสิ่งที่หลายท่านสงสัยในคำพูดของผมที่พูดว่า เมื่อมีการจลาจล แต่จริงๆแล้ว ที่ผ่านมาได้เกิดการจลาจล เนื่องจากมีการบาดเจ็บและสูญเสียเป็นจำนวนมาก มีประชาชนเสียชีวิต 28 คน และบาดเจ็บ 700 ร้อยกว่าคนถือเป็นเสียชีวิตที่ใหญ่หลวง ซึ่งเสียชีวิตคนเดียวก็มากแล้วสำหรับครอบครัวของเขา
       
       ที่ประชุมมีมติร่วมกันในการหาทางออกให้กับประเทศให้ได้ ซึ่งข้าราชการทุกกระทรวงต้องมีความเข้มแข็ง ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายด้วยความชอบธรรมมีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งทุกคนให้สัญญากันไว้ สำหรับการแก้ไขปัญหาต้องให้ทุกกระบวนการได้ทำงาน โดยไม่ไปกดดัน ส่วนผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่ายอยู่ในความสงบ และสันติวิธีจะมาต่อสู้ด้วยอาวุธทำลายกันและกันนั้น พวกเรายอมไม่ได้ เพราะเป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้องดูแลคนไทยทุกคน เราพยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกพวกอยู่แล้ว ไม่ว่าใครจะถูกจะผิดก็ต้องไปว่ากันในกระบวนการยุติธรรม
       
       ผมไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครผิดมากผิดน้อย แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องของศาล ทุกคนก็ต้องเข้าไปสู่กระบวนการทั้งสิ้น หลังจากการประกาศกฎอัยการศึกถือเป็นการนับหนึ่งว่าบ้านเมืองต้องเดินไปในทางที่สงบ และสันติโดยเร็ว เราจะไม่เอาเรื่องเก่ามาพูดกันให้แก้ปัญหาไม่ได้อีก เราต้องมองวันข้างหน้าว่าจะเดินต่อไปอย่างไร ขอร้องสื่อ และทุกภาคส่วนขอให้ช่วยกันสร้างความเข้าใจกับประชาชนในประเทศว่าเข้าจะขัดแย้งต่อไปไม้ได้อีกแล้ว เราจะไปหวังพึ่งใครไม่ได้อีกแล้ว นอกจากคนไทยทุกคน ไม่ว่าสีใครเราต้องสลายสีเสื้อไปให้ได้ และอย่าไปสนับสนุนให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อให้เกิดความรุนแรง
       
       เราจำเป็นต้องระงับการเผยแพร่ของสื่อหลายช่อง ก็ต้องขออภัย เนื่องจากมีความจำเป็นในเรื่องความมั่นคง ขอให้ทุกคนอดทน ซึ่งการประกาศใช้กฎอัยการศึกนั้นจะใช้เพียงบางมาตราเท่านั้น เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบในวงกว้างและจะสร้างปัญหาต่อไปในอนาคต พวกเรามีความตั้งใจอันดีที่จะให้ชาติบ้านเมืองเดินไปข้างหน้า”
       
       จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ “ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนซักถาม โดยมีเนื้อหาดังนี้
       
       ผู้สื่อข่าว : กฎอัยการศึกจะใช้เวลานานแค่ไหน ?
       
       พล.อ.ประยุทธ์ : เมื่อกี้ก็ตอบไปแล้วไม่ใช่เหรอ ... บ้านเมืองสงบเมื่อไหร่ ปลอดภัยเมื่อไหร่ มีเสถียรภาพเมื่อไหร่ ก็ยกเลิกเมื่อนั้นแหละ
       
       ผู้สื่อข่าว : แสดงความถ้ายังไม่สงบภายใน 3 เดือน 6 เดือน กฎอัยการศึกก็จะยังคงมีอยู่ ?
       
       พล.อ.ประยุทธ์ : มันคงไปไม่ถึงขนาดนั้นหรอกมั้ง ทุกอย่างที่มันจัดการด้วยข้อกฎหมายได้ก็ทำไป ถ้าทำไม่ได้ก็ขจัดข้อขัดแย้งก่อน ถ้าข้อขัดแย้งมันยังไม่แก้ไขก็ทำอะไรไม่ได้ทั้งนั้นแหละ มันถึงมีความจำเป็นที่ทหารต้องประกาศกฎอัยการศึกไง
       
       ผู้สื่อข่าว : จะเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การรัฐประหารไหม ?
       
       พล.อ.ประยุทธ์ : เป็นคำถามที่ใครเขาก็ไม่ตอบหรอกนะ ผมไม่ตอบอะไรสักอย่าง อย่ามาสรุปเอง
       
       ผู้สื่อข่าว : เมื่อสถานการณ์มาถึงจุดนี้ มีความเป็นไปได้ไหมที่จะเชิญคู่ขัดแย้งมาคุยกัน ?
       
       พล.อ.ประยุทธ์ : ก็อยู่ในกระบวนการนะ ต้องดำเนินการอยู่แล้ว วันนี้ก็มาพูดคุยกับข้าราชการก่อน วันต่อไปก็ค่อยมาดูว่าจะทำยังไงให้คู่ขัดแย้งได้มาพูดคุยกัน ท่ามกลางความสงบ ถ้ามันยังไม่สงบ ถ้ามันยังมีการเคลื่อนไหวยุยงปลุกปั่น สร้างภาพจนเกิดความรุนแรงขึ้น มันก็พูดกันไม่รู้เรื่อง ดังนั้นทุกฝ่ายต้องหยุดก่อน ไม่งั้นไม่รู้เรื่อง
       
       ผู้สื่อข่าว : ต้องเรียกมาคุยโดยเร็วที่สุดไหม เพื่อให้สถานการณ์มันคลี่คลาย ?
       
       พล.อ.ประยุทธ์ : ผมเรียกก็ต้องมาอยู่แล้วแหละ ไม่ต้องมาถามว่าพวกไหน เรียกทุกพวก เพราะมันต้องคุยกันทุกพวก มันถึงต้องมีอำนาจกฎอัยการศึกไงเล่า ไม่งั้นใครจะฟัง
       
       ผู้สื่อข่าว : หมายถึงจะเรียกครม. วุฒิสมาชิก?
       
       พล.อ.ประยุทธ์ : เอาล่ะๆๆ ทีละขั้นตอน มันเป็นเรื่องของผมเอง ถามทุกอย่างก็ไปไม่ได้สักอย่าง ไม่มีใครเขามาตอบได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว บางเรื่องก็ตอบไม่ได้ บางเรื่องก็ต้องดูต่อไปว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น แต่พวกผมจะไม่ยอมให้มีการนองเลือดเกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นอันขาด
       
       ผู้สื่อข่าว: มองว่าการเลือกตั้งควรจะมีขึ้นอีกไหม?
       
       พล.อ.ประยุทธ์ : อะไรนะ(เสียงดัง)
       
       ผู้สื่อข่าว: การเลือกตั้งจะยังเกิดขึ้นอยู่ไหมคะ?(เสียงอ่อย)
       
       พล.อ.ประยุทธ์ : เดี๋ยวไปหาหมอหูหน่อยนะ
       
       ผู้สื่อข่าว: รัฐบาลตอนนี้อยู่ในสถานะอะไร?
       
       พล.อ.ประยุทธ์ : คุณก็รู้คำตอบอยู่แล้วจะมาถามผมทำไม (ไม่รู้ครับ ถึงถามท่าน)ไปถามคนที่เขารู้ ผมรักษาความสงบเรียบร้อย รัฐบาลอยู่ไหนถ้าทำงานได้ก็ทำกันไป ประเทศชาติต้องทำงาน ตอนนี้ข้าราชการทำงาน ผมเอาแค่นี้ ผมไม่ไปยุ่งกับใคร เอาเป็นว่าข้าราชการประจำ ทหาร ทำงานเพื่อบ้านเมืองนี้ ไม่ต้องกังวล ทุกอย่างยังดำเนินไปตามปกติ จะพยายามไม่ไปละเมิดสิทธิมนุษยชนให้มากนัก ไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ยังมีอีกหลายมาตราที่ยังไม่ได้ใช้เลย
       
       ผู้สื่อข่าว : จะประกาศเคอร์ฟิวไหม ?
       
       พล.อ.ประยุทธ์ : ก็พูดอยู่นี่ไง ว่ามีอีกหลายมาตรายังไม่ได้ใช้เลย
       
       ผู้สื่อข่าว : มีแนวโน้มที่จะใช้ไหมครับ ?
       
       พล.อ.ประยุทธ์ : ก็อยากให้ใช้ไหมเล่า ถ้าจะห้าม ก็ห้ามสื่อ เคอร์ฟิวสื่อก่อนแล้วกัน โอเคนะ ขอบคุณจ้ะ ขอบคุณทุกคน ขอให้เป็นกำลังใจให้ทหารด้วย ตำรวจด้วย ทุกเหล่าทัพเป็นหนึ่งเดียว ผู้บัญชาการทหารสูงสุดท่านติดราชการที่อินโดนีเซีย แต่โทรศัพท์คุยกันตลอด
       
       นี่คือสัญญาณที่ พล.อ.ประยุทธ์ประกาศเอาไว้ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการทำรัฐประหาร ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ไม่ตอบคำถาม กระทั่งในที่สุดเมื่อไม่สามารถบรรลุข้อตกลงจากการเจรจาได้ พล.อ.ประยุทธ์จึงตัดสินใจทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557